วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

เจ้าฟ้าของปวงชน...ขอพระองค์ทรงพระเจริญ

สมเเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินตรวจเยี่ยมโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนคอนราดเฮงเค็ล  ต.นาใน  อ.โพนสวรรค์  จ.นครพนม  เมื่อวันที่ ๒  มีนาคม ๒๕๕๙


วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2558

ส่วนที่จะให้แสดง ส่วนที่เหลือ
ส่วนที่จะให้แสดง ส่วนที่เหลือ

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

กศน.ตำบลนาใน














ที่ตั้ง วัดราชสีมา บ้านนาใน  หมู่ที่ ๑  ต.นาใน  อ.โพนสวรรค์  จ.นครพนม  รหัสไปรษณีย์ ๔๘๑๙๐

วันพฤหัสบดีที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายงานการวิจัย






รายงานผลการวิจัย

เอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง

รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาใน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

1 ชื่อปัญหาการวิจัย

เอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาใน อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม

2. ความสำคัญของปัญหา

จากการจัดการเรียนการสอนวิชาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่าผู้เรียนยังขาดความรู้ความเข้าใจ และไม่สามารถนำความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ จากสภาพปัญหาที่พบ ผู้วิจัยจึงได้สร้างเอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงขึ้นมาแก้ปัญหา เนื้อหาสาระที่บรรจุในเอกสารประกอบการสอนมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทฤษฏีและปฏิบัติไปพร้อมๆกัน เอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามทางแนวเศรษฐกิจพอเพียงนี้ทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะความรู้ความเข้าใจสามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นขั้นตอน ผู้เรียนสามารถนำประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต นำไปประกอบอาชีพ ลดรายจ่าย สร้างรายได้ให้ตนเอง ครอบครัว และชุมชนได้ สามารถดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

3. ปัญหาการวิจัย

การเรียนโดยใช้ เอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสามารถคัดพันธุ์ข้าวสำหรับเก็บไว้ทำพันธุ์ได้

หรือไม่

4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

4.1. เพื่อสร้างเอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

4.2 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้เอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ได้เอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาใน ที่มีประสิทธิภาพ

2. นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาใน มีความสามารถในการเรียนรู้การปฏิบัติเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ได้ดีขึ้น

3. นักศึกษามึความพึงพอใจที่เรียนด้วยเอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

4. เป็นแนวทางในการพัฒนาครู พัฒนาผู้เรียน และผู้สนใจศึกษาสำหรับนำไปสร้างนวัตกรรม

6. วิธีการดำเนินการวิจัย

6.1 ประชากร/กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา
ประชากร คือ นักศึกษาระดับมัธมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาใน วิธีเรียนพบกลุ่ม ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคเรียนที่ 1/2553 จำนวน 26 คน

กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลนาใน วิธีเรียนพบกลุ่ม ที่ลงทะเบียนเรียน วิชาเศรษฐกิจพอเพียง ภาคเรียนที่ 1/2553 จำนวน 15 คน ที่มีปัญหาในการเรียนรู้ โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง

6.2 เครื่องมือวิจัย ประกอบด้วย

ก. เครื่องมือในการแก้ปัญหา/แนวทางแก้ปัญหา
1. เอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

วิธีการสร้างเอกสารประกอบการสอน มีขั้นตอนดังนี้

1.1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เอกสารการคัดพันธุ์ข้าว ตำราการปลูกข้าว หลักสูตรรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง

1.2. ออกแบบและสร้างเอกสารประกอบการสอน โดยผู้วิจัยได้นำเอาความรู้และประสบการณ์ที่ผู้วิจัยได้รับการฝึกอบรม หลักสูตรการพัฒนากสิกรรมธรรมชาติสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียง “ จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จ.ชลบุรี ศึกษาดูงานที่ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ จ. นครนายก สถาบันพัฒนาการเรียนรู้เกษตรอินทรีย์สุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี และอีกหลายแห่งที่เป็นตัวอย่างของเกษตรกรที่ทำการคัดพันธุ์ข้าวจากข้าวกล้องจนสามารถมีพันธุ์ข้าวที่ดี มีคุณภาพสำหรับเก็บไว้เพาะปลูกเอง ผู้วิจัยได้นำเอาความรู้และประสบการณ์ดังกล่าวมาผนวกเข้าการศึกษาตำราและค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากอินเตอร์เน็ต รวบรวมข้อมูลที่ได้มาออกแบบสร้างป็นเอกสารประกอบการสอน

1.3. ตรวจสอบความถูกต้องความเหมาะสมเบื้องต้นของเอกสารประกอบการสอนโดยผู้เชี่ยวชาญ

1.4. ปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำไปใช้กับนักศึกษา

2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

วิธีการสร้างแบบทดสอบ มีขั้นตอนดังนี้

2.1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐาน เอกสารการคัดพันธุ์ข้าว ตำราการปลูกข้าว หลักสูตรรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง

2.2. วิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์การเรียนรู้/ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

2.3. สร้างแบบทดสอบ เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก

2.4. ตรวจสอบความเที่ยงตรงในเนื้อหาของแบบทดสอบ โดยผู้เชี่ยวชาญ

2.5. ปรับปรุงแก้ไขก่อนนำไปใช้กับนักศึกษา

ข. เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล
- แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

6.3 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้เอกสารประกอบการสอน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ศูนย์การเรียนชุมชนตำบล นาใน ขั้นตอนการเก็บข้อมูลดังนี้

1.ให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียนวัดความรู้สามารถในการคัดพันธุ์ข้าว

2.ให้นักศึกษาศึกษาความรู้ในเอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

3. ให้นักศึกษาทำกิจกรรมท้ายบทและแบบทดสอบหลังเรียนวัดความรู้ความสามารถในการคัดพันธุ์ข้าวหลังการใช้เอกสารประกอบการสอน

7. การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยของคะแนนทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแล้วหา ค่าร้อยละเปรียบเทียบความก้าวหน้าในการใช้เอกสารประกอบการสอน

ตารางเปรียบเทียบ

ผลการใช้เอกสารประกอบการสอน

เรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงก่อนเรียนและหลังเรียน ( N=15 )

นักศึกษาคนที่

คะแนนก่อนเรียน

(x1)

คะแนนหลังเรียน

(x2)

คะแนนความก้าวหน้า

( x1-x2)

ร้อยละของความก้าวหน้า

1

8

18

+10

+50

2

8

20

+12

+60

3

12

20

+8

+40

4

9

20

+11

+55

5

7

18

+11

+55

6

9

20

+11

+55

7

13

20

+7

+35

8

10

18

+8

+40

9

9

19

+10

+50

10

13

20

+7

+35

11

12

20

+8

+40

12

7

18

+11

+55

13

15

20

+5

+25

14

10

20

+10

+50

15

10

18

+8

+40

คะแนนรวม

152

289

+137

+685

คะแนนเฉลี่ย

10.13

19.27

9.13

45.70

กำหนดเกณฑ์การแปรผลความก้าวของผู้เรียนรู้ หรือผลการพัฒนาไว้ที่ร้อยละ 20 ขึ้นไป

8. ผลการวิจัย

1. จากการนำเอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น มาทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่านักศึกษามีความพึงพอใจในเอกสารประกอบการสอนเรื่องเทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง รายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสังเกต การสอบถามขณะที่นักศึกษา ทำการศึกษาเนื้อหาและปฏิบัติกิจกรรมด้วยความตั้งใจและมีการซักถามผู้สอนในเนื้อหาที่ไม่เข้าใจ

2. จากตารางเปรียบเทียบผลการใช้เอกสารประกอบการสอน พบว่าโดยภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนทดลองใช้เอกสารประกอบการสอนเท่ากับ 10.13 คะแนนเฉลี่ยหลังใช้เอกสารประกอบการสอนเท่ากับ 19.27 นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 9.13 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคลพบว่านักศึกษา มีคะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นทุกคน แสดงให้เห็นว่า หลังจากทดลองใช้เอกสารประกอบการสอน นักศึกษาพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้สูงขึ้นกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ( ร้อยละ 20) คิดเป็น ร้อยละของความก้าวหน้า 45.70 และนักศึกษาที่มีพัฒนาการการเรียนรู้ที่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ( ร้อยละ 20 )นั้น

มีจำนวนมากกว่า 50% ของนักศึกษาทั้งหมด

9. การสะท้อนผลการวิจัย

1. งานวิจัยและผลการวิจัยเรื่องนี้ เป็นความภาคภูมิใจของผู้วิจัยที่สามารถพัฒนาการเรียนรู้เทคนิคการคัดพันธุ์ข้าวนักศึกษาได้สูงขึ้น

2. เมื่อนำผลการวิจัยนี้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครู อาจารย์ปานจิตต์ จะรคร และ อาจารย์ไกทอง มุดผากิตติเดช ได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้วิจัยว่าควรนำนวัตกรรมไปใช้กับนักศึกษาศูนย์การเรียนอื่น เป็นการเผยแพร่ความรู้และพัฒนาทักษะการคัดพันธุ์ข้าว เพื่อนำไปปฏิบัติใช้ในการดำเนินชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

3. นักศึกษาได้ให้ข้อเสนอแนะแก่ผู้วิจัยว่าควรเพิ่มเวลาในการศึกษาและปฏิบัติการคัดพันธุ์ข้าวให้มากขึ้นกว่าเดิม ควรมีตัวอย่างต้นกล้าที่เพาะจากข้าวกล้องที่ได้จากการคัดพันธุ์

10. แผนพัฒนางานวิจัย

ผู้วิจัยจะวิจัยและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาพัฒนาการเรียนรู้ของนักศึกษาให้มีความก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น

บรรณานุกรม

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕

วารสารเกษตรธรรมชาติ ฉบับที่ 9/2550 หน้า 61-63

ข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต

http://www.sathai.org / มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย )

http://www.ngos.gotoknow.org ( 16 กรกฎาคม 2553 )

http://Kaset porpeang.com ( 16 กรกฏาคม 2553 )

http://Suan Dusit.Cuisine.Com ( 18 กรกฏาคม 2553 )

ที่ปรึกษางานวิจัย

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์เบญจวรรณ รอดแก้ว

ประธานสาขาวัดผลและวิจัยการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร

2. นายชำนาญ วันแก้ว ผู้อำนวยการ สำนักงาน กศน.จังหวัดนครพนม

3. นายภักดี คงปาน ผู้อำนวยการ กศน.อำเภอโพนสวรรค์

4. นางสาวบุศลิน ช่างสลัก ครูชำนาญการพิเศษ สำนักงาน กศน.จังหวัดนครพนม

5. นางอภิรดี วันแก้ว ครูชำนาญการพิเศษ กศน.อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม

6. นางวิจิตรา ลีสี ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนอนุบาลนครพนม จังหวัดนครพนม

ผู้วิจัย

นางสาวกันตินันท์ ลีสี ครูศูนย์การเรียนชุมชน ตำบลนาใน

กศน.อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม